The 24th Conference of The Mechanical Engineering Network of Thailand
October 20-22, 2010, Ubonratchathani, Thailand


ผลงานวิจัย "ผลของการเรียงขั้วอีเล็กโตรดที่มีต่อการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับสนามไฟฟ้า "

(Effects of Electrode Arrangement on the combined Hot-Air Flow

and Electric Field Drying)

จากหน่วยวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางความร้อนและของไหลเพื่อการประหยัดพลังงาน (C.E.T.F.)

ร่วมกับหน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม (R.C.M.E.)

ได้รับรางวัลบทความดีเด่นระดับชาติ สาขา Thermal System and Fluid Mechanics

 

    

ตามที่การประชุมเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทยครั้งที่ 24 (MENETT24) เมื่อวันที่ 20-22 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมสุนีย์ แกรนด์ จ.อุบลราชธานี่ โดยมีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพ ในการจัดงานในครั้งนี้ ซึ่งการประชุมทางวิชาการครั้งนี้ได้มีการคัดเลือกบทความดีเด่น 14 บทความ จากบทความทั้งหมด 300 บทความ จากสถาบันการศึกษา 45 สถาบันทั่วประเทศไทย ปรากฎว่า บทความเรื่อง "ผลของการเรียงขั้วอีเล็กโตรดที่มีต่อการอบแห้งด้วยลมร้อนร่วมกับสนามไฟฟ้า (Effects of Electrode Arrangement on the combined Hot-Air Flow and Electric Field Drying)" ได้รับรางวัลบทความดีเด่นระดับชาติ สาขา Thermal System and Fluid Mechanics ผลงานวิจัยนี้ดำเนินการวิจัยโดย นายธัชพงศ์ กรีวัชรินทร์ ์ ผศ.ดร.ไชยณรงค์ จักรธรานนท์ุ์และ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช จากหน่วยวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพอุปกรณ์ทางความร้อนและของไหลเพื่อการประหยัดพลังงาน (C.E.T.F.) ร่วมกับหน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม (R.C.M.E.) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

           


โดยในงานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของการจัดเรียงแท่งอีเล็กโตรดที่มีต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการอบแห้งในวัสดุพรุนโดยใช้ลมร้อนร่วมกับสนามไฟฟ้า โดยตัวแปรที่ทำการศึกษา คือ จำนวนขั้วอีเล็กโตรด (n = 1, 3, และ 4 ขั้ว) และ ระยะระหว่างอีเล็กโตรดและกราวด์ (L = 2 - 8 cm) แรงดันไฟฟ้าที่ใช้เพื่อทำให้เกิดโคโรน่าวินด์ (Corona wind) ถูกใช้ที่ 15 kV อุณหภูมิและความเร็วของลมร้อนถูกควบคุมที่ 60 C และ 0.35 m/s ตามลำดับ วัสดุพรุนที่ใช้ประกอบด้วย น้ำ อากาศ และลูกแก้วซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.125 mm ผลจากการทดลองพบว่า การเพิ่มจำนวนขั้ว n มีผลต่อลักษณะของการหมุนวนกระแสร้อนลมอย่างมาก และยังส่งผลทำให้อัตราการอบแห้งสูงมากขึ้น เมื่อระยะ L มีค่าน้อยลงลมหมุนวนจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่เล็กลงแต่มีความแรงของการหมุนที่มากขึ้นซึ่งส่งผลทำให้อัตราการถ่ายเทมวลและความร้อนในวัสดุพรุนมีค่าสูงขึ้นมาก


Welcome to TSME-ICoME 2010 Gallery

 back

 

หน่วยวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์จากไมโครเวฟในงานวิศวกรรม
ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (12120)
โทร. 02 5643001-9 ต่อ 3153
e-mail : ratphadu@engr.tu.ac.th